พระราชกฤษฎีกา กำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการก าหนดสาขาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้มาตรา๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า

“พระราชกฤษฎีกาก าหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕ ”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบ วัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาก าหนดสาขาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓ ให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาดังต่อไปนี้ เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุม (๑) สาขาธรณีวิทยา (๒) สาขานิติวิทยาศาสตร์ (๓) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม (๔) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การดำเนินการด้านนิติวิทยาศาสตร์ มีความสำคัญต่อการสืบสวน สอบสวนและพิจารณาตัดสินคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และสังคมและโดยที่การด าเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีบทบาทสำคัญต่อการให้ ความคุ้มครองแก่สุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน การรักษาและส่งเสริมสภาพการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนสร้างความปลอดภัยในการทำงานและในสถานประกอบกิจการ สมควรกำหนดให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม จึงจ าเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

พระราชกฤษฎีกากำหนดสาขาวิชาชีพฉบับที่2พ.ศ.2565
สรุปพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้

หลังจากกฎหมายมีผลใช้บังคับ (พ้น 180 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจา) ใครจะไปประกอบอาชีพด้านนี้ในภาคเอกชนจะต้องมีใบอนุญาต จากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ

หากใครฝ่าฝืน ก็อาจได้รับโทษจำคุก

ไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้ง 2  หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.41 และ 64