ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย การพัฒนาและการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2560-2564
1.การสร้างสุขภาวะที่ดี และการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุขของนักศึกษา บุคลากร และชุมชน (Good Health and Happiness University: G1)
2.การสร้างมหาวิทยาลัยสีเขียวและคาร์บอนต่ำ(Green and Low Carbon University: 2)
3.การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ และความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายใน และภายนอกองค์กร (Good Relation, Networking and Collaboration: G3)
4.การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีและเหมาะสมภายใต้บริบทของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (Good University and Appropriated in Context of University for Local Development to Sustainability: G4)
5.การสร้างการมีส่วนร่วม และบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล (Participation and Good Governance :P)
อัตลักษณ์
ศึกษาดี มีจิตอาสา (Well Educated and Voluntary Minded)
เอกลักษณ์
มหาวิทยาลัยแห่งความสุข มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์
ปรัชญา
“พัฒนาวิชาการ ยึดมั่นคุณธรรม นำภูมิปัญญา สู่การพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืน”
วิสัยทัศน์ (Vision)
คณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบและเป็นคณะที่มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการทางด้านสาธารณสุขศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
พันธกิจ (Mission)
- ผลิตและพัฒนาบัณฑิตทางวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน
- วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- บริการวิชาการด้านสาธารณสุขในชุมชน
- การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
- บริหารจัดการพันธกิจอย่างเป็นระบบโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์หลัก (Goal)
บัณฑิตโดดเด่น (Smart Student)
มุ่งเน้นการวิจัย (Excellent Research)
ใส่ใจบริการ (Expert Academic Service)
สานรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม (Explicit Culture and Environment Conservation)
น้อมนำธรรมาภิบาล (Administration and Good Government)
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการเรียนการสอนของสาขาวิชา
- เพื่อผลิตบัณฑิตสาธารณสุขชุมชนที่มีความรู้และทักษะทางสาธารณสุขศาสตร์ สามารถนำไปพัฒนางานและประกอบอาชีพได้ และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และสังคม
- ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการวิจัย เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่จะนำไปพัฒนาชุมชน ให้พึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพได้
- ให้บริการวิชาการทางด้านสาธารณสุขแก่ชุมชนและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ยุทธศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ พ.ศ.2562-2566
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรเพื่อเป็นองค์กรแห่งคุณภาพและความสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร และองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategy issues) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ
- 1. ส่งเสริมการนำความรู้จากผลงานนวัตกรรม หรือผลงานที่บูรณาการ หรือผลจากองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ของคณะ ทั้งทางด้านวิชาการ ทางด้านวิจัย และทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปใช้ในการให้บริการวิชาการ และวิชาชีพด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
- 2. ส่งเสริมงานบริการวิชาการ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนสังคม และประเทศชาติให้มีมาตรฐานในระดับชาติ และนานาชาติ
- 3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาครัฐบาล และเอกชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- 4. บริหารจัดการภารกิจด้านการให้บริการวิชาการ และวิชาชีพของคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้มีศักยภาพ (จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อความเป็นเลิศของคณะสาธารณสุขศาสตร์)
เป้าประสงค์ (Goal)
- 1. มีโครงการบริการวิชาการ และวิชาชีพที่มีคุณภาพ
- 2. มีโครงการบริการวิชาการ และวิชาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศ
- 3. มีอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้บริการวิชาการ และวิชาชีพที่ทันสมัย และมีมาตรฐาน
- 4. มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้านการให้บริการวิชาการและวิชาชีพให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- 5. มีผลงานวิจัยเชิงประยุกต์ และเชิงพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศ
- 6. ส่งเสริมให้เครือข่ายชุมชนของคณะฯ มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม
- 7. มีการจัดการความรู้ภายในมหาวิทยาลัย และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับเครือข่ายทางด้านวิชาการของคณะ
- 8. มีรายได้จากการบริการวิชาการและวิชาชีพ
- 9. คณะเป็นแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
- 10. มีการติดตาม ปรับปรุง ตรวจสอบและพัฒนาตามระบบ PDCA
- 11. พัฒนาการบริหารจัดการการให้บริการวิชาการ และวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ (Strategies)
กลยุทธ์ 3.1 ส่งเสริม และสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาไปทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกในการบริการวิชาการกับท้องถิ่นโดยเน้นพื้นที่ Flagship
กลยุทธ์ 3.2 ผลักดันให้คณะสาธารณสุขศาสตร์เป็นหน่วยงานส่งเสริมสุขภาวะ ให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้กับหน่วยงานภายในและภายนอก
กลยุทธ์ 3.3 สนับสนุน และส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย ด้วยแนวทาง University Social Engagement ในการรับใช้ชุมชน เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในชุมชนพื้นที่เป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ 3.4 ปรับภารกิจของศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (UBRU Wellness Center)
การดำเนินงาน/แผนงาน
- 1. ทบทวนและปรับปรุงภาระงานของบุคลากรสายวิชาการ
- 2. สนับสนุนอัตรากำลังในสายวิชาการให้เพียงพอต่อภาระงาน
- 3. สนับสนุนงบประมาณและค่าตอบแทนในการจัดกิจกรรมการให้บริการวิชาการและวิชาชีพด้านสาธารณสุข
- 4. เตรียมความพร้อมให้กับงานบริการวิชาการของคณะ และมหาวิทยาลัย โดยการฝึกอบรมทักษะการให้บริการวิชาการและวิชาชีพให้กับบุคลากรและนักศึกษา
- 5. มีการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ
- 6. มีโครงการอบรมวิชาชีพทั้งภายใน และภายนอกคณะและมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
- 7. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
- 8. สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
- 9. เผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ด้านวิจัย ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนผลงานนวัตกรรม ผลงานเชิงบูรณาการ และผลงานเชิงประยุกต์ให้กับชุมชน สังคม ทั้งภายในและต่างประเทศ